สธ. ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่รายที่ 4 ติดจากต่างประเทศ ขณะนี้สบายดีแล้ว - Health News, H1N1 2009

Sunday, May 31, 2009 at 5:56 PM

กระทรวงสาธารณสุขขึ้นทะเบียนผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 รายที่ 4 ติดเชื้อจากหลังกลับจากอเมริกา สบายดีแล้ว และเฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิดอีก 5 คน ซึ่งขณะนี้ได้รับยาด้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ชี้การพบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ที่กลับมาจากต่างประเทศ แสดงถึงความเข้มแข็งระบบการเฝ้าระวังป้องกัน ความร่วมมือของผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน

วันนี้ (31 พฤษภาคม 2552) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายแพทย์สมชัย นิจพานิช รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์ศุภมิตร ชุณหสุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค แถลงข่าวความคืบหน้าสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ว่า ในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศขึ้นทะเบียนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 เพิ่มอีก 1 ราย เป็นชายอายุประมาณ 50 ปี เริ่มป่วยภายหลังเดินทางกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา

ผู้ป่วยรายนี้เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อเที่ยงคืนวันที่ 25 พ.ค. และเริ่มป่วยเช้าวันที่ 26 พ.ค. 52 มีอาการเล็กน้อย โดยมีไข้ต่ำๆ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อย ได้ไปรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกทม.ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 และแพทย์ได้เก็บตัวอย่างเสมหะส่งตรวจที่ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และที่ โรงพยาบาลศิริราช ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้ง 2 แห่ง พบว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขณะนี้ผู้ป่วยอาการเป็นปกติแล้ว ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้ติดตามเฝ้าระวังและให้การดูแลที่บ้าน รวมทั้งบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวอีก 5 คน ทุกคนได้รับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ กินติดต่อกัน 5 วัน

นายวิทยากล่าวต่อไปว่า การพบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ เป็นผลมาจากการได้รับความร่วมมืออย่างดีจากประชาชนที่เดินทางกลับจากต่าง ประเทศ และโรงพยาบาลเอกชน ทำให้ระบบการเฝ้าระวังของไทยมีความเข้มแข็ง และเกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เราสามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในประเทศได้ทันท่วงที ประการสำคัญโรคนี้มียารักษาได้ ผู้ป่วยที่มารับการรักษาเร็วจะได้รับความปลอดภัย และได้รับการดูแลทั้งครอบครัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด จึงขอให้ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความร่วมมือเช่นนี้ตลอดไป

นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงส่าธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ใช้มาตรการป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขั้นสูงสุดต่อเนื่อง และเฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย ดังนั้นผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หากมีอาการไข้ เจ็บคอ ไม่สบาย แม้ว่าอาการจะเล็กน้อยก็ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางกลับจากต่างประเทศ เพื่อให้เข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังควบคุมโรค

สำหรับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 15,510 รายใน 53 ประเทศ เสียชีวิต 99 ราย สำหรับไทยมีผู้ป่วยยืนยัน 4 ราย และวันนี้มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคและตรวจยืนยันทาง ห้องปฏิบัติการ 6 ราย

***************************************** 31 พฤษภาคม 2552

สธ. ขึ้นทะเบียนพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในไทย 1 ราย ติดจากต่างประเทศ - Health News, H1N1 2009

Saturday, May 30, 2009 at 3:17 PM

กระทรวงสาธารณสุข ขึ้นทะเบียนพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 อีก 1 ราย รวมเป็นผู้ป่วยยืนยัน 3 ราย เป็นหญิงติดเชื้อมาจากต่างแดน ผลการตรวจเสมหะทางห้องปฏิบัติการยืนยันให้ผลบวก ขณะนี้รักษาที่บ้าน มีอาการไอเล็กน้อย ทีมสอบสวนโรคติดตามดูแลสมาชิกในครอบครัวและผู้สัมผัสผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ขณะนี้ไม่มีอาการป่วย มั่นใจควบคุมการแพร่กระจายเชื้อได้

วันนี้ (30 พฤษภาคม 2552) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์มานิตย์ ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวว่า ในวันนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศขึ้นทะเบียนผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ในประเทศไทยเพิ่มอีก 1 ราย รวมเป็นผู้ป่วยยืนยัน 3 ราย เป็นผู้ที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ ยืนยันว่าไม่ได้ติดเชื้อในประเทศไทย

นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวว่า ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 สำนักระบาดวิทยา ได้รับรายงานพบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 จำนวน 1 ราย เป็นหญิงอายุประมาณ 50 ปี เดินทางกลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2552 มีอาการเล็กน้อยขณะอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงประเทศไทยวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 หลังเดินทางเข้ามาถึงไทยไปรักษาเป็นผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน กทม. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 ผลการตรวจเบื้องต้นให้ผลบวก แพทย์ให้ยาต้านไวรัสทามิฟลู พร้อมส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งไปตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในวันเดียวกัน และส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เช้าวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ผลการตรวจยืนยันพบติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 จริง เมื่อวานนี้ ( 29 พฤษภาคม 2552) ผู้ป่วยมีอาการไอเล็กน้อย สมาชิกในครอบครัวไม่มีอาการป่วยแต่อย่างใด

นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งทีม SRRT ลงสอบสวนโรคทั้งผู้สัมผัสในครอบครัวและที่ทำงาน พร้อมให้คำแนะนำให้พักอยู่ในบ้านเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 7 วัน ลดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เช่น การกอด จูบ หรือหอมแก้ม ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อลดการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข ได้ใช้มาตรการการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขั้นสูงสุดอย่างต่อเนื่อง และเฝ้าระวังผู้สัมผัสผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย ดังนั้นผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ หากมีอาการไข้ เจ็บคอ ไม่สบาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ

สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกรายงานเมื่อเช้าวันนี้ตามเวลาในประเทศไทยว่า มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 15,510 ราย ใน 53 ประเทศ เสียชีวิต 99 ราย สำหรับประเทศไทย มีผู้ป่วยยืนยัน 3 ราย และวันนี้มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวัง อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคและตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ 9 ราย

*************************** 30 พฤษภาคม 2552

ผมร่วง ปัญหาของผมร่วง ผมร่วงผิดปกติ ผมร่วงเรื้อรัง - Hair Loss

Friday, May 29, 2009 at 11:52 PM

ปัญหาผมบางและศีรษะล้าน อันเนื่องมาจากผมร่วง ทั้งร่วงผิดปกติและร่วงเรื้อรัง

ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ใช้รีพลัส สารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติไม่มีสารเคมีเจือปน

นับวันปัญหาผมร่วง / ผมร่วงผิดปกติ / ผมร่วงเรื้อรัง และปัญหาผมบางจะมากขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติของผู้ที่ค้นหาคำว่า ผมร่วง จะมากเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้ว่าปัญหาใกล้ตัวมากที่สุดคือผมร่วง ปัญหานี้นับวันจะมีผู้ที่ประสบปัญหามากขึ้นอย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆนอก จากนี้จากปัญหาผมร่วงยังมีการพัฒนาการและเพิ่มพูนปัญหามากขึ้นตามลำดับ ปัญหาที่ติดตามมาจากปัญหาผมร่วงก็คือเกิดปัญหาผมบาง ติดตามมา ซึ่งผู้ที่มีปัญหาผมร่วงส่วนใหญ่จะชล่าใจปล่อยให้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นไปตาม ธรรมชาติของมันเอง ซึ่งกว่าจะรู้ตัวก็ประสบกับปัญหาผมบางแล้ว ดังนั้นจะเห็นว่าถ้าผมร่วง สะสมในทุกๆวันและผมร่วงเรื้อรังอย่างต่อเนื่องนำมาซึ่งปัญหาผมบาง ถ้ายังไม่มีการแก้ไขให้ทันการณ์ผมก็จะบางลงเรื่อยๆนำไปสู่ปัญหา ศีรษะล้าน ในที่สุดดังเช่นตัวอย่างภาพด้านบน ผมร่วง เป็น ปัญหา ใกล้ตัวมากที่สุดและยังเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่หนักอกหนักใจของผู้คนทั่วๆไป ในสังคมทั้งชายและหญิง ถ้าผมร่วงปกติก็ดีไป แต่ถ้าเมื่อใดเกิดปัญหาผมร่วงผิดปกติ ขึ้นมาก็ย่อมเกิดอาการกังวลใจและเครียดได้ ยิ่งถ้าผมร่วงนั้นเกิดขึ้นเป็นเวลานานๆ ที่เข้าข่ายผมร่วงเรื้อรังก็อาจทำให้สุขภาพจิตเสียหงุดหงิดได้ง่ายๆ ความกังวลต่างๆก็จะติดตามมา ทั้งกังวลว่า ผมจะบางหรือไม่หรือ ศีรษะล้านหรือไม่ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็สามารถเกิดขึ้นจริงๆได้ทุกโอกาสทั้งภาวะ ผมบาง และศีรษะล้าน ล้วนแล้วมาจากต้นเหตุที่เดียวกันคือ ผมร่วง นั่นเอง ปัญหาเหล่านี้จะลดลงได้เจ้าของเรือนร่างต้องหมั่นตรวจสอบอยู่เป็นประจำ ดังนั้นถ้าเกิดปัญหาผมร่วงผิดปกติหรือผมร่วงเรื้อรังเกิดขึ้น ต้องรีบทำการแก้ไขทันที อย่ารอให้เวลาผ่านไปนาๆจึงค่อยแก้ไข ซึ่งอาจจะไม่ทันการณ์ อาจจะเกิดปัญหาผมบางตามมาแบบไม่ทันตั้งตัว

ปัญหาของผมร่วง ( Hair Loss ) มาจาก 2 สภาวะ ดังนี้.-
1 ) ผมร่วง ( Hair Loss )จากรากผมถูกทำลายรากผม...
2 ) ผมร่วง ( Hair Loss ) จากการอักเสบของผิวหนังศีรษะและการแบ่งเซลล์ผิดปกติของหนังศีรษะ...
(more ...)

สธ.ปรับยุทธศาสตร์ไทย สู้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วไป สถานศึกษา - Health News, H1N1 2009

at 7:58 PM

กระทรวงสาธารณสุข ปรับยุทธศาสตร์สู้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของไทย สอดคล้องกับสถานการณ์ระดับโลกและในประเทศไทย ครอบคลุมทั้งพื้นที่ทั่วไปรวมทั้งสถานศึกษา โดยในวันนี้ได้ออกคำแนะนำการป้องกันโรค เพิ่มเติม สำหรับ โรงเรียน สถานศึกษา สถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก ใช้เป็นแนวปฏิบัติเดียวกันระหว่างโรงเรียนกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หากพบผู้ป่วยในโรงเรียน พร้อมแนะให้โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กหมั่นทำความสะอาดของเล่น เครื่องเล่นเด็ก ราวบันได ลูกบิดประตู เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจ

นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ที่ประชุมได้ประเมินทิศทางการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ในระดับโลก ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงเร็วมาก การะบาดขยายวงกว้างในทวีปต่างๆ ส่วนประเทศไทยก็กำลังก้าวสู่ฤดูกาลการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ประจำปี จึงควรสนใจป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างเข้มแข็ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ไปพร้อมกันด้วย ในส่วนของไทยยังไม่มีการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในประเทศ ผู้ป่วยที่ยืนยันติดเชื้อ 2 ราย เป็นการติดเชื้อมาจากต่างประเทศที่มีโรคนี้ระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม ต้องปรับยุทธศาสตร์ให้ทันกับสถานการณ์อยู่เสมอ

นายวิทยา กล่าวว่า ประเทศไทยจะต้องป้องกันโรคโดย 3 ยุทธศาสตร์พร้อมกัน ได้แก่ ยุทธศาสตร์การตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังผู้เดินทาง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในประเทศ ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังโรคภายในประเทศอย่างเข้มข้น เพื่อการค้นหาได้รวดเร็ว และรักษาผู้ป่วย เพื่อควบคุมการแพร่เชื้อในประเทศให้อยู่ในวงจำกัดหากเกิดมีผู้ป่วยขึ้น และยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมทั่วไปทั้งประเทศ สำหรับกรณีที่การะบาดขยายตัว เพื่อบรรเทาความรุนแรง ลดผลกระทบของการระบาด โดยเพิ่มศักยภาพของการรักษาผู้ป่วย รวมถึงการแนะนำให้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ซึ่งมีอาการไม่รุนแรงที่บ้าน การเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนป้องกันตนเองได้ดี รวมถึงการร่วมมือทุกภาคส่วน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะได้นำเสนอกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว ต่อคณะกรรมการอำนวยการระดับชาติต่อไป

นายวิทยา กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ 2 ที่ประชุมได้พิจารณาในวันนี้ก็คือ การจัดทำแนวทางป้องกันโรคเพิ่มเติมสำหรับโรงเรียน สถานศึกษา ซึ่งครอบคลุมการป้องกันทั้งโรคไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิดทั่วไปและสายพันธุ์ใหม่ เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงเปิดเรียน อาจพบเด็กป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจเป็นประจำอยู่แล้ว ยิ่งในหน้าฝนก็จะป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลกันมาก จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคได้ง่าย กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและสำนักอนามัยกทม. จัดทำแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันโรคเพิ่มเติมสำหรับในโรงเรียน ซึ่งจะใช้ร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ หากมีผู้ป่วย ก็จะสามารถดำเนินการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว และไม่กระทบการเรียนการสอน ในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขจะส่งคำแนะนำดังกล่าวถึงกระรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดส่งให้โรงเรียน สถานศึกษาทั่วประเทศ รวมทั้งในสถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก ด้วย และจะเผยแพร่ทางเวปไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th

ทางด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการป้องกันโรคทางเดินหายใจในโรงเรียน สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก ขอแนะนำให้ทำความสะอาดเครื่องเล่น ของเล่นเด็ก ลูกบิดประตู ราวบันได โทรศัพท์ โดยใช้น้ำกับผงซักฟอกเช็ดทำความสะอาด หรือล้างเป็นประจำ เนื่องจากเชื้อไวรัสจะอยู่ในเสมหะ น้ำลาย น้ำมูกของผู้ป่วย และแพร่ไปยังผู้อื่น โดยการไอ จามรดโดยตรง หรือแพร่เชื้อทางอ้อมโดยมือ สิ่งของเครื่องใช้ที่มีเชื้อปนเปื้อน

สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 เมื่อเวลา 8.00 น.วันนี้(29 พฤษภาคม 2552) ตามเวลาในประเทศไทย องค์การอนามัยโลกรายงานผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 48 ประเทศ รวมมีผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 13,398 ราย เสียชีวิต สะสม 95 ราย อัตราการป่วยตายร้อยละ 0.71 ส่วนไทยยังไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม

************************************* 29 พฤษภาคม 2552

การจัดฟัน รูปหน้ากับการจัดฟัน - Orthodontics

at 5:13 AM

การเปลี่ยนแปลงรูปหน้าหลังการจัดฟัน เกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่อไปนี้ประการใดสาเหตุหนึ่งหรือร่วมกัน

1. การเจริญเติบโตของใบหน้าและขากรรไกร ซึ่งเติบโตมากในช่วงวัยรุ่น และโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 14-16 ปีในผู้หญิง และ ประมาณ 18 ปีในผู้ชาย ขนาดของขากรรไกรถูกกำหนดโดยพันธุกรรมเป็นส่วนใหญ่ การจัดฟันด้วยเครื่องมือมีผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกรในช่วงที่ยังโตไม่ เต็มที่ จะสามารถยับยั้งหรือกระตุ้นการเจริญของขากรรไกรบนได้เล็กน้อย หลังจากช่วงวัยรุ่นไปแล้ว ใบหน้าและขากรรไกรไม่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่บริเวณจมูกและคางจะยังยื่นขึ้นได้เล็กน้อย
เมื่ออายุมากขึ้น

2. การเคลื่อนฟัน เนื่องจากฟันหน้าเป็นส่วนพยุงริมฝีปากไว้ ดังนั้น การเคลื่อนฟันหน้าไปด้านหน้าหลังจะมีผลต่อรูปปากได้ เช่น การถอนฟันและดึงฟันหน้าไปข้างหลังจะมีผลทำให้ริมฝีปากยุบลง

3. การผ่าตัดขากรรไกร สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างของขากรรไกรได้อย่างเด่นชัด

ไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) คำแนะนำ กรมควบคุมโรค ฉบับที่ 1 - Chikungunya

Tuesday, May 26, 2009 at 1:41 PM

คำแนะนำ กรมควบคุมโรค
เรื่อง โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) ฉบับที่ 1
----------------------------------------------------

ด้วยขณะนี้โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ได้แพร่ระบาดในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย โดยมียุงลายเป็นพาหะทำให้เกิดโรค สถานการณ์ ตั้งแต่ต้นปี จนถึง วันที่ 19 พฤษภาคม 2552 พบว่า จำนวนผู้ป่วยสะสม 20,541 ราย อัตราป่วย 32.40 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค (ซึ่งมักกัดคนเวลากลางวัน) หลังจากกัดผู้ป่วยแล้วจะมีเชื้ออยู่ในตัวยุง ได้ตลอดอายุขัยของยุง (1-3 เดือน) และเมื่อมากัดคนปกติก็จะถ่ายทอดเชื้อให้ หลังจากระยะฟักตัว 1-12 วัน ผู้ถูกยุงมีเชื้อกัดจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ และมีผื่นแดงตามร่างกาย แขน ขา ปวดข้อมากจนบางครั้งขยับไม่ได้ ส่วนใหญ่อาการจะหายภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่บางรายมีอาการปวดข้อนานเป็นเดือน ปัจจุบันยังไม่มียารักษาเฉพาะ และไม่มีวัคซีนป้องกัน ให้การรักษาตามอาการ โดยให้ยาลดไข้ และยาแก้ปวดข้อ แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้ไปพบแพทย์ โรคนี้ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงถึงชีวิตจะหายได้เอง และจะมีภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต
กรมควบคุมโรคได้เตรียมความพร้อมรับการระบาด โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ และมาตรการในการควบคุมโรค ระยะแรก มีการประชุมศูนย์ปฏิบัติการโรคไข้ปวดข้อยุงลายทุกวัน เพื่อเร่งรัดการเฝ้าระวังโรค สกัดกั้นการแพร่ระบาด การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลผู้ป่วย การเผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคของประชาชนให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อรับมือกับโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลการดำเนินงานจะช่วยลดโรคไข้เลือดออกด้วย สำหรับการป้องกันควบคุมโรค ที่สำคัญ คือ ประชาชน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันการติดเชื้อและลด การแพร่ระบาดโรค ไข้ปวดข้อยุงลาย กรมควบคุมโรค มีข้อแนะนำสำหรับประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา เพื่อความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ดังนี้

คำแนะนำสำหรับประชาชน
- ผู้ที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับอาการปวดข้อ หรือออกผื่นให้รีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ หรือมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ภายใน 2 สัปดาห์ (14 จังหวัดทางภาคใต้) ในกรณีที่ยังไม่อาจไปพบแพทย์ได้และมีความจำเป็นต้องรับประทานยา แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล
- ผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายในระยะ1 สัปดาห์ หลังมีไข้ ควรป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เพื่อลดการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น โดยนอนในมุ้งในเวลากลางวันและกลางคืน และไม่ควรเดินทางออกนอกพื้นที่ภายในระยะ 1 สัปดาห์
- ผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยหรือผู้ที่ไปมาหาสู่ อาจมีโอกาสติดเชื้อควรเฝ้าระวังตนเอง 2 สัปดาห์
- ผู้ที่จำเป็นต้องเข้าไปในสวนยางพาราหรือสวนผลไม้ ควรป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด โดยสวมเสื้อผ้าแขนยาวขายาวให้มิดชิด ทายากันยุง เป็นต้น
- นอนในมุ้ง หรือห้องที่กรุด้วยมุ้งลวด จุดยากันยุง แม้ในเวลากลางวัน
- ประชาชนทุกครัวเรือนต้องทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในบ้านและรอบบ้านของตน ทุก 7 วัน โดยเฉพาะภาชนะที่ไม่ได้ใช้รอบๆ บ้าน ไปจนถึงในสวนยางพารา สวนผลไม้ เช่น ยางรถยนต์ ภาชนะที่มีน้ำขัง ได้แก่ ถ้วยรองน้ำยางพารา กะลามะพร้าว กาบใบไม้ เป็นต้น
- ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

คำแนะนำอาสาสมัครสาธารณสุข
- เฝ้าระวังประชาชนในหมู่บ้านหรือพื้นที่ที่รับผิดชอบ หากพบผู้ที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับอาการปวดข้อ หรือออกผื่นให้รีบพาไปพบแพทย์ และรายงานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยเร็ว
- สำรวจและร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในบ้านและนอกบ้านผู้ป่วยและบ้านเรือนใกล้เคียงและต่อเนื่องถึงพื้นที่สวน (ถ้ามี) ในรัศมี 400 เมตร
- ให้คำแนะนำและขอความร่วมมือประชาชนในการป้องกันยุงกัด เช่น การใช้มุ้ง ยากันยุง ยาทากันยุง การกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และตัวเต็มวัยด้วยตนเอง รวมทั้งคำแนะนำในการใช้ยาให้ถูกต้อง
คำแนะนำสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบสถานการณ์ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคใน ชุมชน
- ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อลดจำนวนยุงตัวเต็มวัย และแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เช่น
- ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
- จัดรณรงค์ Big Cleaning Day สัปดาห์ละครั้ง ต่อเนื่อง 3 เดือน
- ออกข้อบัญญัติ หรือเทศบัญญัติท้องถิ่น เพื่อให้มีการดูแล กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์
ยุงลายในชุมชน อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
- สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค การควบคุมยุงลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ และลูกน้ำยุงลาย

คำแนะนำในสถานศึกษา
- ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานศึกษา ทุก 7 วัน
- ให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักเรียนเกี่ยวกับ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย วงจรชีวิตของยุง การแพร่เชื้อ และวิธีป้องกัน
- หากพบนักเรียน นักศึกษาที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับอาการปวดข้อ หรือออกผื่นให้รีบพาไปพบแพทย์ และแนะนำวิธีปฏิบัติตัวในการป้องกันการแพร่เชื้อหากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรค ไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่หรือมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้ปวดข้อ ยุงลายภายใน 2 สัปดาห์ (14 จังหวัดทางภาคใต้)

ท่านสามารถติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994 ตลอด 24 ชั่วโมง

กรมควบคุมโรค
วันที่ 21 พฤษภาคม 2552

สธ. มุ่งสกัดไวรัส 3 โรคทั้งหวัดใหญ่ตามฤดูกาล ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่และไข้หวัดนก - Health News, H1N1 2009

Monday, May 25, 2009 at 7:59 PM

กระทรวงสาธารณสุข มุ่งสกัดกั้นการแพร่ระบาดโรคติดต่อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส 3 โรค ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ป้องกันประชาชนป่วย ตัดโอกาสเชื้อผสมข้ามสายพันธุ์ โดยใช้หลายมาตรการพร้อมๆ กัน ทั้งปลูกฝังพฤติกรรมประชาชนให้ล้างมือ ใช้หน้ากากอนามัยเมื่อเป็นหวัด การแยกผู้ป่วย การรักษาพยาบาล กินอาหารร้อน ใช้ช้อนกลาง ตลอดจนการฉีดวัคซีนป้องกัน

นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากการดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา นับว่าประสบความสำเร็จยังไม่มีการแพร่กระจายในประเทศ แม้ว่าสถานการณ์ทั่วโลกจะพบว่าโรคนี้มีความรุนแรงน้อยลง มีอัตราตายต่ำไม่ถึงร้อยละ 1 แต่โรคยังคงมีโอกาสแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนมั่นใจและอุ่นใจ กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังคงมาตรการสกัดกั้นไม่ให้โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดเข้าสู่ ประเทศ โดยการคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศทุกด่าน ทั้งทางบก น้ำ และอากาศอย่างเป็นระบบ ซึ่งมาถูกทางแล้ว ไทยคงมีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เพียง 2 รายเท่าเดิม ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ยังให้มีการจัดประชุมศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และ สาธารณสุขเพื่อประเมินสถานการณ์ทุกวัน

นายวิทยา กล่าวต่อว่า สิ่งที่จะต้องเคร่งครัดก็คือการเฝ้าระวังป้องกันโรคทางเดินหายใจที่มีความ รุนแรง 3 โรค ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ที่สำคัญได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล โรคไข้หวัดนก และโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ต้องสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนไทยทุกคนป้องกันตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปลูกฝังด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ทั้งการออกกำลังกายเพิ่มภูมิต้านทานโรค การล้างมือ การคาดหน้ากากอนามัยเมื่อเป็นหวัด ป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่สู่คนอื่น การกินอาหารร้อน การใช้ช้อนกลาง ได้ให้ทุกจังหวัดรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวจนเป็นนิสัย ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาแล้วแต่จะให้เข้มข้นขึ้นในช่วงนี้

ทางด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กล่าวว่า สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขเน้นหนักขณะนี้อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การเฝ้าระวังไม่ให้มีการระบาด เพื่อไม่ให้เกิดการข้ามสายพันธุ์ของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไข้หวัดใหญ่ทั่วไปซึ่งจะแพร่ระบาดมากในฤดูฝน และโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกซึ่งเป็นโรคประจำถิ่น และมีโอกาสหวนมาระบาดอีกได้หากมีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม กระทรวงสาธารณสุขได้วางมาตรการป้องกัน โดยให้ทุกจังหวัดดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้ประชาชนกลุ่ม เสี่ยง เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ บุคลากรสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ที่ดูแลและเกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก ในเดือนกรกฎาคม 2552 เป็นต้นไป โดยส่งวัคซีนส่งไปให้ทุกจังหวัดแล้ว 2 ล้านโดส

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ในวันนี้มีผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค และการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ 11 ราย การตรวจที่ผ่านมาจำนวน 233 ราย พบเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม

****************************** 25 พฤษภาคม 2552

ฮอร์โมนเพศชายDHT-ต้นตอศีรษะล้าน - ผมร่วง [Hair Loss]

at 3:30 PM

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6717 ข่าวสดรายวัน

ศูนย์ ให้คำปรึกษาเรื่องผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ PROHAIR Call Center โทร.0-2686-9191 ตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น. วันจันทร์ถึงศุกร์ หรือ www.askprohair.com ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ตลอดจนไขข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับฮอร์โมนเพศชาย กับอาการผมร่วง ศีรษะล้าน ที่ส่งผลกระทบด้านจิตวิทยา รวมไปถึงเสน่ห์ดึงดูดใจทางเพศ และความสัมพันธ์ของชีวิตรัก

น.พ.สุรเดช พงษ์รัตนานุกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมปลูกผม กล่าวว่า ผมร่วงและศีรษะล้าน มีสาเหตุหลักจากเกิดจากกรรมพันธุ์กว่าร้อยละ 90 คนที่มีกรรมพันธุ์ผมร่วงนั้น ฮอร์โมนเพศชาย DHT ซึ่งจะไปขัดขวางกระบวนการสร้างเส้นผมปกติ และทำให้เซลล์รากผมฝ่อตัว และผมก็จะค่อยๆ หลุดร่วงในที่สุด ซึ่งผู้ชายมักมองข้ามถึงความสำคัญของการรักษาที่ถูกวิธีจนเกิดปัญหาศีรษะ ล้าน ส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพและความมั่นใจ หรือแม้กระทั่งเสน่ห์ดึงดูดทางเพศ การรักษาศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์

การแก้ไขที่ต้นเหตุคือ การใช้ยาลดปริมาณฮอร์โมน DHT ลง เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนเพศชายที่ทำให้เซลล์รากผมฝ่อตัวลง แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรในการเลือกใช้ยา สิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่เลือกวิธีใช้ยานี้ก็คือ ต้องมีความอดทนสูง เพราะต้องกินยาต่อเนื่องไปตราบเท่าที่ฮอร์โมนเพศชายยังมีการผลิตอยู่ อย่างน้อยสามเดือนขึ้นไปจึงจะเห็นผล

ด้านน.พ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ สูตินรีแพทย์ กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงจะพิจารณาหลายๆ ปัจจัย ต่อการตัดสินใจเลือกคบคู่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพ หน้าที่การงาน และผมก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของรูปลักษณ์ภายนอกที่ผู้หญิงมองเช่นกัน การมีศีรษะล้านและผมบางนั้นอาจเป็นปัญหาด้านภาพลักษณ์ของฝ่ายชาย ซึ่งกระทบกระเทือนไปถึงความมั่นใจในชีวิต รู้สึกสูญเสียความมั่นใจในตนเอง หรืออาจลุกลามต่อเนื่องไปถึงความต้องการทางเพศ และความสามารถในการตอบสนองทางเพศลดลง ที่อยากแนะนำก็คือให้ผู้ชายที่มีปัญหาไปปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะได้รักษาได้ทันท่วงที ส่วนคุณผู้หญิงก็ควรช่วยส่งเสริมและให้คำตอบในเรื่องผมร่วงกับผู้ชาย ไม่ใช่ไปซ้ำเติม

สธ. ยังไม่ลดมาตรการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ เตือนอย่ากินยาลดไข้ก่อนลงเครื่อง - Health News, H1N1 2009

Sunday, May 24, 2009 at 5:01 PM

กระทรวงสาธารณสุข ยังตรึงมาตรการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ต่อเนื่อง เตือนประชาชนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ อย่ากินยาลดไข้ก่อนลงเครื่องเพื่อปิดบังอาการไข้ เพราะหากป่วยจากเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ จะทำให้ได้รับการดูแลจากแพทย์ช้าเกินไป และนำเชื้อไปแพร่ให้คนอื่นได้อีกมาก

วันนี้ (24 พฤษภาคม 2552) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยความคืบหน้าการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ของกระทรวงสาธารณสุข ว่า ช่วงเวลาประมาณ 1 เดือนมานี้ มาตรการเฝ้าระวังที่ดำเนินการทั่วประเทศพบว่าได้ผลดีมาก ไทยยังไม่มีปัญหาโรคแพร่ระบาดในประเทศ คงมีผู้ป่วยยืนยันเพียง 2 ราย ซึ่งเป็นการติดเชื้อมาจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขจะยังไม่ลดมาตรการเฝ้าระวังทุกพื้นที่ ยังคงให้ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ รวมทั้งอสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่กว่า 1 ล้านคน ติดตามค้นหาผู้ป่วยที่เข้าข่ายเฝ้าระวัง โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เป็นประจำทุกวัน ซึ่งยอดผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ประชาชนไม่ต้องกังวล ยิ่งมีจำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังมาก หมายถึงระบบการค้นหาและเฝ้าระวังโรคของกระทรวงฯ เป็นไปอย่างเข้มข้น และหากมีผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัย จะได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วและปลอดภัยที่สุด

ด้านนายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในวันนี้ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ สนามบินสุวรรณภูมิ จัดระบบการเก็บประวัติด้านสุขภาพของผู้โดยสารขาเข้าจากต่างประเทศทุกราย ตามแบบ ต.8 โดยประสานการทำงานกับเจ้าหน้าที่ของด่านตรวจคนเข้าเมืองอย่างใกล้ชิด หากมีปัญหาจะสามารถติดตามตรวจสอบได้ทันที และยังคงการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องวัดไข้อัตโนมัติทุกเที่ยวบินขาเข้าจาก ต่างประเทศ ตลอดวานนี้ตรวจผู้โดยสารทั้งหมด 32,867 ราย พบมีไข้ 2 ราย ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวังแล้ว โดยยอดสะสมตั้งแต่ 24 เมษายน – 23 พฤษภาคม 2552 รวมทั้งหมด 846,351 ราย

ด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้ทราบข้อมูลจากกลุ่มผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศว่า บางคนมีการกินยาลดไข้ก่อนลงเครื่อง เพื่อไม่ให้มีไข้เมื่อต้องผ่านเครื่องวัดไข้อัตโนมัติ เนื่องจากกลัวถูกกักตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะหากป่วยจากเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ จริง จะได้รับการดูแลจากแพทย์ช้าเกินไป เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต และยังสามารถแพร่เชื้อให้คนรอบข้างได้อีกจำนวนมาก แต่หากได้รับการรักษาทันเวลาก็จะหายขาด

สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ของไทย วันนี้มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคและตรวจยืนยันทาง ห้องปฏิบัติการ 26 ราย ยังไม่มีผู้ป่วยในข่ายสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ต้องขอความร่วมมือประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หากมีอาการเหมือนไข้หวัดภายใน 7 วัน ให้ใส่หน้ากากอนามัยและรีบไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางให้ทราบด้วย เพื่อนำเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันไม่เชื้อแพร่สู่ผู้อื่น ส่วนสถานการณ์ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกรายงานเมื่อเช้าวันนี้ ตามเวลาประเทศไทย ว่า มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 12,021 รายใน 43 ประเทศ เสียชีวิต 86 รายเท่าเดิม มีผู้ป่วยเพิ่ม 853 ราย ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยรายแรกวันนี้ได้แก่ รัสเซีย 1 ราย

************************************ 24 พฤษภาคม 2552

รมช.มานิต ย้ำเจ้าหน้าที่คุมเข้มด่านชายแดนจังหวัดเชียงราย สกัดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ - Health News, H1N1 2009

at 2:02 PM

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข สั่งคุมเข้มด่านชายแดนจังหวัดเชียงราย ติดตั้งเครื่องตรวจวัดไข้ที่ด่านแม่สาย เฝ้าระวังป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ติดประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่า ลาว รวมทั้งเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าจากจีน มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางผ่านเข้า-ออกวันละหลายพันคน

วันนี้( 24 พฤษภาคม 2552 )นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลแม่ลาว และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย โดยมอบนโยบายการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ให้แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ และฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.

นายมานิต กล่าวว่า จากการที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1 ในหลายประเทศทั่วโลก ไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อเข้าประเทศ หากไม่มีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดดีพอ โดยเฉพาะตามด่านชายแดน ท่าเรือ และสนามบินนานาชาติ ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงสำคัญ ได้สั่งการให้ด่านป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ทั้งทางบก เรือ อากาศ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 60 แห่ง ประกอบด้วย ด่านฯ ท่าอากาศยาน 15 แห่ง ด่านฯ ท่าเรือ 16 แห่งและด่านฯ พรมแดน 29 แห่ง ทำหน้าที่ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ โดยคัดกรองตรวจผู้ที่เดินทางระหว่างประเทศทั้งขาเข้าอย่างเข้มงวด

โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย มีสนามบินนานาชาติ 1 แห่ง มีด่านพรมแดนทางบกฯ 1 แห่ง คือที่ด่าน อ.แม่สาย เป็นด่านทางบก แต่ละวันมีต่างด้าวและนักท่องเที่ยวผ่านเข้า-ออก ประมาณ 3,000 คน ส่วนใหญ่เป็นการติดต่อค้าขาย และมีด่านทางน้ำ 2 แห่ง ที่อ.เชียงของ, อ.เชียงแสน มีเรือสินค้าจากจีน ลาวเข้ามาส่งสินค้าทุกวัน วันละ 8-10 เที่ยว มีเจ้าหน้าที่ประจำเรือประมาณ 50-60 คน และมีเรือข้ามฟากขนส่งนักท่องเที่ยวจากประเทศแถบยุโรปประมาณ 100-200 คน ผ่านเข้าออกเป็นประจำด้วย

ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำด่านเข้มงวดการเฝ้าระวังโรค ตรวจวัดไข้ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศทุกคน โดยการสังเกตอาการและวัดไข้นักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ทุกคน ด้วยเครื่องวัดไข้ทางหูและได้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดไข้หรือเครื่องเทอร์โม สแกนที่ด่านแม่สาย 1 เครื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองใช้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นพื้นที่กลางแจ้ง จะต้องควบคุมปรับระบบอุณหภูมิให้เหมาะสม คาดว่าจะใช้สามารถใช้การได้ในเร็วๆนี้

“ส่วนในด้านการรักษาพยาบาล มีการจัดเตรียมหน่วยสวบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ห้องแยกผู้ป่วย 20 ห้อง รวมทั้งยาต้านไวรัสกว่า 100 โดส หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ส่วนผลการดำเนินงานคัดกรองผู้เดินทางจนถึงวันนี้ยังไม่พบผู้ต้องสงสัยไข้ หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด ” นายมานิตกล่าว

****************** 24 พฤษภาคม 2552

รมช.มานิต คุมเข้มการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ - Health News, H1N1 2009

Saturday, May 23, 2009 at 8:03 PM

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้มนโยบายการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1 ให้สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง เฝ้าระวังโรค ร่วมกับ อสม. พร้อมรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม. ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสโรค แนะประชาชนทั่วไปรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ติดเชื้อ ล้างมือให้สะอาด และใช้หน้ากากอนามัยป้องกันไอ จามรดคนอื่น

วันนี้( 23 พฤษภาคม 2552 )นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลเด่นชัยและโรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่โดยมอบนโยบายการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ให้แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ และฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม.

นายมานิต กล่าวว่า ขณะนี้หลายประเทศ กำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1เอ็น 1 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงประเทศไทย ที่พบผู้ป่วยยืนยันในประเทศไทย จำนวน 2 ราย โดยติดเชื้อมาจากต่างประเทศ ถึงแม้โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ จะไม่รุนแรงเท่าไข้หวัดนก มีอัตราการตายต่ำไม่ถึง ร้อยละ 1 แต่แพร่ระบาดจากคนสู่คนได้รวดเร็ว กระทรวงสาธารณสุขได้วาง 3 มาตรการหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดในประเทศ ได้แก่ 1.ตรวจคัดกรองไข้ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ ทุกแห่ง 2.ค้นหาผู้ป่วยและให้การวินิจฉัย ตรวจรักษาอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และ3.ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าใจประชาชน สามารถป้องกันตนเองได้ จนถึงขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่เพิ่ม

สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งมีอยู่ในประเทศอยู่แล้ว สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าในปี 2551 ทั่วประเทศมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 20,881 ราย เสียชีวิต 4 ราย ส่วนปี 2552 ตั้งแต่ 1 มกราคม -15 พฤษภาคม 2552 พบผู้ป่วย 4,140 ราย ไม่มีเสียชีวิต เชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบในไทยขณะนี้ ยังไม่มีปัญหากลายพันธุ์ การฉีดวัคซีนป้องกันยังได้ผล ซึ่งในปีนี้มีเป้าหมายฉีด 2.2 ล้านโด๊ส เน้นในกลุ่มที่สุขภาพอ่อนแอ เสี่ยงป่วยก่อนได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างบำบัด เบาหวาน และผู้สูงอายุ อายุ 65 ปีขึ้นไป รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสัมผัสเชื้อไข้หวัดใหญ่ รวมถึงเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและ เชื้อไข้หวัดนก หลังฉีดร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคได้ร้อยละ 70-90 โดยป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลได้ 3 สายพันธุ์ แต่ไม่สามารถป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ ขณะนี้ได้กระจายวัคซีนไปสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศแล้ว

สำหรับประชาชนทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว ยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ควรป้องกันไม่ให้ร่างกายรับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ที่ดีสุดคือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และป้องกันไม่ให้ตนเองรับเชื้อเข้าร่างกาย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ที่สถานที่แออัด ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย ควรล้างมือบ่อยครั้ง สวมผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันการไอ หรือจามใส่คนอื่น เป็นต้น

*********************************** 23 พฤษภาคม 2552

ไข้หวัดใหญ่, สาเหตุ, การติดต่อ, อาการ, การรักษา - Influenza

Friday, May 22, 2009 at 11:42 PM

ไข้หวัดใหญ่จะพบได้บ่อยมากในคนทุกเพศทุกวัย เป็นมากในช่วงฤดูฝน (ก.ค. – ธ.ค.)

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อ influenza virus (มีหลายชนิด A, B, C) ซึ่งจะพบในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ

การติดต่อ
ทางลมหายใจ ไอ จาม รดกัน ระยะฟักตัว 1-4 วัน นอกจากเชื้อไข้หวัดใหญ่จะมีชนิด A, B, C แล้วแต่ละชนิด ยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ ออกไปอีกมากมาย แต่ละครั้งที่เป็นโรค จะเกิดจากพันธุ์ย่อยเพียงพันธุ์เดียว เมื่อเป็นแล้ว ก็จะมีภูมิต้านทานต่อพันธุ์นั้น แต่ไม่สามารถต้านทานพันธุ์อื่นๆ ได้ จึงอาจติดเชื้อจากพันธุ์ใหม่ได้

อาการ
เกิดขึ้นทันทีทันใด จะมีไข้สูง หนาวๆ ร้อนๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นมากที่กระเบนเหน็บ ต้นแขน ต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีอาการเจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้งๆ จุกแน่นท้อง จะมีไข้อยู่ 2-4 วัน แล้วไข้จะค่อยๆ ลดลง ส่วนอาการไอ อ่อนเพลีย อาจจะเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ บางคนเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้ว อาจมีอาการวิงเวียน เหมือนเมารถเมาเรือ สาเหตุจากมีการอักเสบในหูชั้นใน ที่อวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัว อาการจะหายเองภายใน 3-5 วัน

สิ่งตรวจพบ
ไข้ (38.5-40 องศาเซลเซียส) หน้าแดง เปลือกตาแดง น้ำมูกใส คอแดง หรือไม่แดงเลย

อาการแทรกซ้อน
ส่วนมากจะไม่มี มีบ้างที่พบ ได้แก่ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นในอักเสบ หลอดลมอักเสบ และแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดอักเสบ มักจะเกิดจากแบคทีเรีย พวก นิวโมค็อกคัส หรือ สแตปฟีโลค็อกคัส ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงมักเกิดในเด็กเล็ก คนสูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน คนที่สูบบุหรี่จัด หรือผู้ป่วยที่มีโรคของปอดเรื้อรัง ส่วนการเกิดภาวะแทรกซ้อนถึงตายนั้นนับว่าน้อยมาก มักจะเกิดในเด็กเล็ก หรือคนสูงอายุที่ร่ายกายอ่อนแออยู่ก่อน

การปฏิบัติตัว
- นอนพักมากๆ ไม่ตรากตรำทำงานหนัก ไม่อาบน้ำเย็นเวลามีไข้สูงใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว ไข้ลงแล้วควรอาบน้ำอุ่นอีก 5 วัน
- รับประทานอาหารอ่อน ๆ
- ดื่มน้ำและน้ำผลไม้และน้ำหวานมาก ๆ
- เวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าปิดปากและจมูก
- หมั่นล้างมือให้สะอาด

การรักษา
- ใช้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้แก้ปวด ยาแก้ไอ ยาแก้ไอขับเสมหะ ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ยาบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก เป็นต้น
- การใช้ ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นทุกราย เนืองจากโรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส ดังนั้นจะให้เมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น มีน้ำมูก เสลด สีเหลืองหรือเขียว หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบเป็นต้น
- ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัย ปอดอักเสบ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือเด็กเล็ก อาจส่งโรงพยาบาลด่วน

คำถาม-คำตอบ เรื่อง “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1” - H1N1 2009

at 6:59 PM

คำถาม-คำตอบ เรื่อง “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1”
“Influenza A(H1N1)”
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2552 เวลา 10.00 น.


1. ไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดตามข่าวอยู่ในขณะนี้คือโรคอะไร
โรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน เป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ซึ่งมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่คน ไข้หวัดใหญ่สุกร และไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกด้วย เริ่มพบการระบาดที่ประเทศเม็กซิโก และแพร่ไปกับผู้เดินทางไปในอีกหลายประเทศ ระยะแรก กระทรวงสาธารณสุขใช้ชื่อโรคนี้ว่า “โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก” และเมื่อองค์การอนามัยโลกได้ประกาศชื่อเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1” และใช้ชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”


2. เหตุใดจึงไม่ใช้คำว่าไข้หวัดสุกร (Swine flu) เหมือนชื่อที่ใช้เรียกในระยะแรกของการระบาด
เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ใหม่ ในการรายงานโรคนี้ช่วงแรกในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Swine Flu” หรือไข้หวัดใหญ่สุกร โดยปกติแล้ว ไข้หวัดใหญ่สุกรเป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในสุกร มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หลายชนิด เช่น H1N1, H1N2, H3N1 และ H3N2 แต่ละชนิดมีหลากหลายสายพันธุ์ ตามปกติการเกิดโรคในสุกร บางครั้งอาจมีผู้ติดเชื้อจากสุกรและป่วยซึ่งเกิดไม่บ่อยนัก การติดเชื้อเกิดโดยคนหายใจเอาละอองฝอยเมื่อสุกรไอ หรือจาม เข้าไป หรือการสัมผัสกับสุกร หรือสิ่งแวดล้อมที่สุกรอาศัยอยู่ อย่างไรก็ตามเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกนี้ ผลการตรวจวิเคราะห์ในระดับพันธุกรรมพบว่า เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่พบในคน และยังไม่เคยพบในสุกรมาก่อน และการระบาดดังกล่าว ไม่มีรายงานโรคนี้ระบาดในสุกรทั้งในเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา และผลการสอบสวนโรค ไม่พบผู้ใดติดโรคจากสุกร หากแต่เป็นการแพร่กระจายโรคจากคนสู่คนเท่านั้น

ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2552 องค์การอนามัยโลกได้เปลี่ยนการเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากที่เคย เรียกว่า ไข้หวัดสุกร หรือ สไวน์ ฟลู (Swine Flu) เป็น “ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” (Influenza A H1N1) ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขไทยจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” และชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” เพื่อให้สอดคล้องกันและสื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจตรงกัน ไม่สับสนกับไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่เกิดตามฤดูกาล ซึ่งเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่คนละตัวกัน


3. เกิดการระบาดขึ้นที่ประเทศใดบ้าง
ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา ประเทศเม็กซิโกเริ่มพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และผู้ป่วยปอดบวมสูงขึ้นผิดปกติ จากนั้น จึงเริ่มมีการส่งตัวอย่างจากผู้ป่วยตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2552 ตามเวลาประเทศไทย) พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 จำนวน 10,243 ราย ใน 41 ประเทศ และพบผู้เสียชีวิตแล้ว 80 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.78 รายชื่อประเทศที่พบผู้ป่วยมีดังนี้ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยี่ยม บราซิล แคนาดา ชิลี จีน โคลัมเบีย คอสตาริก้า คิวบา เดนมาร์ก เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน กัวเตมาลา อินเดีย ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ ปานามา เปรู โปแลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ ไทย ตุรกี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และกรีก ท่านสามารถติดตามรายละเอียดรายงานสถานการณ์โรครายวัน ได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th


4. พบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีในประเทศไทยหรือไม่
5. คนติดโรคนี้ได้อย่างไร
....
25. ท่านจะติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ ได้อย่างไรบ้าง...

สธ. เตรียมทดสอบการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ รักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 - Health News, H1N1 2009

at 6:14 PM

กระทรวงสาธารณสุข เตรียมทดสอบการดื้อยาของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กับยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์ คาดใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน ชี้ปัญหาการดื้อยาที่พบที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมแพทย์ให้เคร่งครัดการใช้ยา ให้ใช้ในรายที่จำเป็นเท่านั้น

นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเช้าวันนี้ (22 พฤษภาคม 2552) ว่า วันนี้มีผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายการเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น 22 ราย ซึ่งถือเป็นเรื่องดีต่อระบบการเฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แสดงว่าประชาชนรู้ข้อมูลและให้ความร่วมมือปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของกระทรวง สาธารณสุขมากขึ้น โดยหลังจากกลับจากต่างประเทศที่เป็นพื้นที่เสี่ยง เมื่อมีไข้ก็เดินทางมาพบแพทย์ทันที การที่มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังจำนวนมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยมีโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดใน พื้นที่แต่อย่างใด

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ป่วยต่างชาติอยู่ในข่ายเฝ้าระวัง 3 ราย ประกอบด้วย ชาวสวีเดน 2 ราย และมาจากฮ่องกง 1 ราย โดยชาวสวีเดนอาศัยอยู่ในเมืองไทย เดินทางไปที่อินโดนีเซีย 14 วัน และไปที่มาเลเซียด้วยก่อนเข้าประเทศไทย เมื่อวิเคราะห์ประวัติและเส้นทางเดินทางของชาวสวีเดนรายนี้ไม่น่าห่วง อย่างไรก็ตาม กำลังตรวจสอบตัวอย่างที่ส่งมาจากโรงพยาบาลสมุทรปราการ ว่าติดเชื้อใช่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือไม่ ส่วนรายฮ่องกงนั้นจัดเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระบบตามปกติ ไม่น่ากังวลแต่อย่างใด

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนประเด็นที่ระบุว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่ในไทยมีปัญหาดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ ร้อยละ 70 นั้น ขอชี้แจงว่าเชื้อที่ดื้อยาที่พบส่วนใหญ่เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล แต่ในส่วนของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทรวงสาธารณสุขจะทำการทบทวนและนำเชื้อทดสอบมาทดสอบกับยาโอเซลทามิเวียร์ เนื่องจากขณะนี้ได้ทำการแยกเชื้อจากผู้ป่วยที่ยืนยัน 2 รายได้แล้ว คาดว่าจะใช้เวลาทดสอบไม่เกิน 1 เดือน อย่างไรก็ตามเพื่อความไม่ประมาท และความรอบคอบในการใช้ยาตัวนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมชี้แจงแพทย์ผู้ให้การรักษาทั่วประเทศแล้ว 1 ครั้ง และพยายามลดการใช้ยา กำหนดให้ใช้ได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ อยู่ในความดูแลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และห้องปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์ 2 แห่ง อยู่ในระดับ 3 ซึ่งเป็นระดับที่มีความปลอดภัยอย่างมาก ตามมาตรฐานสากล เช่นเดียวกับการดูแลเชื้อไข้หวัดนก

ส่วนความคืบหน้าการตรวจผลชิ้นเนื้อปอดของหญิงชาวเยอรมันที่เสียชีวิตเมื่อ 18 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา ได้ประสานเป็นการภายในกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และนายแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างใกล้ชิด และจะหารือกันเร็วๆ นี้ หากผลการตรวจทราบผลชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ต้องขอเวลาสักระยะ เนื่องจากในเบื้องต้นพบว่า ผู้เสียชีวิตรายนี้มีประวัติค่อนข้างสลับซับซ้อน ทั้งในเรื่องน่าจะมีภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เชื้อที่เกิดขึ้นอาจเป็นเชื้อที่ไม่ปกติ และยังมีปัญหาเรื่องโรคหัวใจด้วย ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ระหว่างการพิสูจน์ นายแพทย์ไพจิตร์กล่าว

**************************** 22 พฤษภาคม 2552

สธ. ทำความเข้าใจสื่อมวลชนทุกสาขา เผยแพร่ข่าวสารไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ลดผลกระทบประเทศ - Health News, H1N1 2009

Thursday, May 21, 2009 at 2:05 PM

กระทรวงสาธารณสุข จัดเสวนาสื่อมวลชนทุกสาขา สร้างความรู้ความเข้าใจโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 พร้อมเผยแพร่สู่ประชาชนอย่างรวดเร็วและถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในภาพรวมของประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว

เช้าวันนี้ (21 พฤษภาคม 2552) ที่โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส กรุงเทพฯ นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการเสวนาสื่อมวลชนเรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1 ผลกระทบกับเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว โดยมีสื่อมวลชนสาขาโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ ทั้งสายสังคม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ตลอดจนผู้จัดวิทยุชุมชน เข้าร่วมประชุมกว่า 300 คน

นายมานิต กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ที่กำลังแพร่ระบาดไปในหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง จนมีผู้ป่วยกว่า 9 พันราย และเสียชีวิตถึง 79 ราย ทำให้ประชาชนทั่วโลกเกิดความตื่นตัวและวิตกกังวลอย่างมาก และยิ่งปัจจุบันที่เทคโนโลยีการสื่อสารมีความก้าวหน้า ข้อมูลข่าวสารยิ่งเผยแพร่ถึงกันทั่วโลกอย่างรวดเร็ว การแพร่ระบาดของโรคจึงไม่เพียงมีผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงสังคมและเศรษฐกิจ อาทิ การค้าขาย การลงทุน การทำธุรกิจ ตลอดจนการท่องเที่ยวของประเทศด้วย การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องเหมาะสมของสื่อมวลชน จึงเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบดังกล่าวได้ ที่สำคัญสามารถเปลี่ยนแปลงความตื่นตระหนกของประชาชน ให้กลายเป็นความตระหนัก รู้จักป้องกันตนเองรวมทั้งคนรอบข้างและสังคม

โดยการเสวนาสื่อมวลชนเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้รับความร่วมมือจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากหลายหน่วยงาน มาร่วมพูดคุยให้ความรู้ ตอบข้อซักถามแก่สื่อมวลชน อาทิ รศ. (พิเศษ) นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ ประธานคณะยุทธศาสตร์และแผนในการต่อสู้โรคไข้หวัดใหญ่ฯ นายแพทย์สมชาย พีระปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ศ.นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา เลขาธิการแพทยสภา ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นางสาวมัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศส นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ และนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นต้น

*************************************** 21 พฤษภาคม 2552

องค์การอนามัยโลกหนุนงบ 70 ล้านบาท ให้ไทยผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จากเชื้อเป็น รับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต - Health News, H

Wednesday, May 20, 2009 at 8:06 PM

องค์การอนามัยโลกหนุนงบ 70 ล้านบาท ให้ไทยวิจัยผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จากเชื้อเป็นซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้จากรัสเซียเป็นครั้งแรก ใช้เวลาพัฒนาในโครงการ 1 ปี โดยใช้สถานที่มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม สิ้นสุดเดือนเมษายนปีหน้า เพื่อเตรียมการขึ้นทะเบียน โดยไทยจะผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลใช้เองในประเทศในอีก 3 ปีข้างหน้า ในโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี และปรับการผลิตหากมีการระบาดใหญ่ เป็นวัคซีนเชื้อเป็นชนิดใช้พ่นทางจมูกได้ไม่ต่ำกว่า 60 ล้านโดส หากมีเหตุฉุกเฉินของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ระบาดในอนาคต จะใช้สถานที่โครงการนำร่องผลิตเพื่อรับมือ

วันนี้ (20 พฤษภาคม 2552) เวลา 13.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย ที่องค์การสหประชาชาติ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และแพทย์หญิงมาร์กาเร็ต ชาน (Dr. Margaret Chan) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก เป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือระหว่าง นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ฝ่ายไทย กับ ดร.แมรี่ พอล คีนีย์ (Dr. Marie Paule Kieny) ผู้อำนวยการด้านการวิจัยวัคซีน (Director, Initiative Vaccine Research) และ ดร.เดซี่ มาฟูบีลู (Dr. Daisy Mafubelu) รองผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (Assistant Director-General, WHO) ผู้แทนองค์การอนามัยโลก เพื่อให้องค์การเภสัชกรรมสามารถใช้สายพันธุ์เชื้อเป็น และข้อมูลในการพัฒนาการวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากเชื้อเป็น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากบริษัทโนบีลอน (Nobilon-Schering-Plough) ที่ได้รับจากประเทศรัสเซีย ซึ่งมอบให้องค์การอนามัยโลกเมื่อ 15 มกราคม 2552 เพื่อทำประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนาเป็นครั้งแรก โดยสามารถผลิตได้จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น

นายวิทยา กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับองค์การอนามัยโลกครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญที่จะได้อาวุธสำคัญในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ทำให้ระบบการสาธารณสุขของไทย มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยสามารถผลิตวัคซีนขึ้นใช้ได้เองในประเทศ และผลิตให้องค์การอนามัยโลกนำไปช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหา ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ นี้ แม้ว่าอัตราตายจะต่ำคือร้อยละ 0.86 แต่ติดต่อกันระหว่างคนสู่คนง่าย จึงแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วข้ามไปยังประเทศในภูมิภาคต่างๆ ที่ผ่านมาวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ที่ยุโรปและอเมริกาเหนือ จึงต้องมีการเตรียมการผลิตวัคซีนในแถบเอเชียด้วย โดยไทยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกจำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70 ล้านบาท เป็นปีที่ 2 เป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 สิ้นสุดโครงการวันที่ 30 เมษายน 2553 เพื่อให้องค์การเภสัชกรรมผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อเป็น หลังจากที่ได้ผลิตวัคซีนตัวอย่างชนิดเชื้อตายของโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลใน ปีแรกแล้ว เป็นโอกาสดีที่จะผลิตสายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ที่กำลังระบาด ด้วยเทคโนโลยีชนิดเชื้อเป็นในประเทศได้คราวละจำนวนมาก และเป็นความหวังที่จะสามารถรับมือได้ทัน หากโรคนี้เกิดการระบาดอีกในอนาคต

ทางด้านนายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ในการวิจัยเพื่อการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ครั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้ให้เชื้อเป็นที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงมาผลิตวัคซีน (live-attenuated influenza vaccine : LAIV) มาดำเนินการที่ห้องปฏิบัติการซึ่งมีความปลอดภัยในระดับห้องปฏิบัติการตาม มาตรฐานสากล
นายแพทย์วิทิต กล่าวต่อว่า เพื่อเตรียมรับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 องค์การเภสัชกรรมได้ตัดสินใจปรับโครงการผลิตวัคซีนที่องค์การอนามัยโลกให้ การสนับสนุน เพื่อรองรับการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ด้วย การดำเนินการโครงการต่อเนื่องนี้ จะทำให้ประเทศไทยสามารถผลิตวัคซีนจากเชื้อเป็นได้ถึง 2-3 ล้านโดสต่อเดือน ในกรณีที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ฉุกเฉิน ถึงแม้ว่าจำนวนการผลิตดังกล่าวอาจไม่พอเพียงต่อประชาชนชาวไทย แต่จะเพียงพอสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมถึงผู้ให้บริการต่อสาธารณชน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาในระดับอุตสาหกรรม รัฐบาลไทยได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 1,400 ล้านบาท (ประมาณ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ) ให้องค์การเภสัชกรรมก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามมาตรฐานจีเอ็มพี ขององค์การอนามัยโลก ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อเป็นการประกันความมั่นคงทางสุขภาพของคนไทยในระยะยาวต่อการระบาดของไข้ หวัดใหญ่ จะเริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2552 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 18 เดือน คาดจะเริ่มผลิตได้ในปี 2555 กำลังการผลิตรองรับการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ปีละกว่า 60 ล้านโดส และผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลปีละ 10 ล้านโดส เพื่อให้คนไทยได้ใช้ และเตรียมสำรองให้องค์การอนามัยโลกในการสนับสนุนไปยังประเทศต่างๆ รวมถึงภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

ทางด้านแพทย์หญิงมาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การเกิดโรคระบาดไข้หวัดใหญ่ แสดงถึงความต้องการในการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของโลก ทุกประเทศมีความเสี่ยงทั้งสิ้น โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งไทยเป็น 1 ใน 6 ประเทศที่เข้าร่วมผลิตวัคซีนนำร่องในประเทศกำลังพัฒนา และไทยเป็นประเทศเดียวที่ประสบความสำเร็จและมีความก้าวหน้ามากที่สุด ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่ายินดีที่ประเทศไทยได้ประกาศที่จะบริจาควัคซีนให้ กับคลังวัคซีนโลก ซึ่งที่ผ่านมาหลายประเทศมีการเตรียมตัวรับมือโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มา อย่างดี เนื่องจากเป็นผลมาจากการเตรียมรับมือการระบาดของโรคไข้หวัดนก และการเตรียมรับมือการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังป้องกันมีความจำเป็นที่ทุกประเทศจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และร่วมมือกันอย่างแข็งขัน องค์การอนามัยโลกพร้อมให้การสนับสนุน เพื่อให้ประชาชนทุกประเทศได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่เท่าเทียมกัน

******************************** 20 พฤษภาคม 2552

สธ.เร่งให้ความรู้โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผ่านทางอินเตอร์เน็ต - Health News, H1N1 2009

at 7:07 PM

กระทรวงสาธารณสุข เปิดช่องทางให้ความรู้เจ้าหน้าที่ บุคลากรสาธารณสุข เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ให้มีความเข้ามีความเข้าใจเรื่องโรคไข้หวัดตรงกันตั้งแต่สถานการณ์ของโรค ตลอดจนการดูแลป้องกันบุคคลากรสาธารณสุข

บ่ายวันนี้ (20 พฤษภาคม 2552) ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการถ่ายทอดความรู้เรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ไปยังบุคลากรสาธารณสุขในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และสำนักงานควบคุมโรค 12 แห่งทั่วประเทศ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ กรมการแพทย์ นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ และนายแพทย์คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ กรมควบคุมโรค และดร.วัฒนา อู่วานิช กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขทุกระดับในหน่วยงานสาธารณสุขทั่วประเทศ ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันและมาจากแหล่งเดียวกัน ก่อให้เกิดความเข้าใจและทำงานประสานไปในทิศทางเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เพิ่มช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย ถ่ายทอดความรู้ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อทุกหน่วยงานที่สามารถเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถรับชม การถ่ายทอดสดได้ทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดทีมด้านการแพทย์ การควบคุมโรคและเทคนิคการแพทย์ สำหรับให้ข้อมูล/ตอบปัญหาทางโทรศัพท์ 2 แห่ง ได้แก่ ที่ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรมควบคุมโรค หมายเลข 02-590-3333 และ ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข หมายเลข 02-590-1994

โดยในวันนี้ เป็นการสรุปสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 มาตรการและระบบงานต่างๆ แนวคิดด้านการควบคุมโรค การคาดการณ์สถานการณ์ วิธีการรักษา การเก็บสิ่งส่งตรวจ กระบวนการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการป้องกันตนเองของบุคลากรสาธารณสุข

สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 องค์การอนามัยโลกรายงานเมื่อเช้าวันนี้ (20 พฤษภาคม 2552) ตามเวลาในประเทศไทยว่า มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อใน 40 ประเทศ รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น 9,830 ราย เสียชีวิต 79 ราย (เม็กซิโก 72 ราย สหรัฐอเมริกา 5 ราย แคนาดา 1 ราย และคอสตาริกา 1 ราย) ไม่มีประเทศใหม่ที่รายงานผู้ป่วยรายแรกในวันนี้ ส่วนประเทศไทยคงมีผู้ป่วยยืนยัน 2 รายเท่าเดิม และวันนี้มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังที่อยู่ระหว่างการสอบสวน หรือกำลังดำเนินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 22 ราย

....................................... 20 พฤษภาคม 2552

สธ. เตรียมเสนอมาตรการรับมือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ต่อคณะกรรมการไข้หวัดใหญ่ชาติ ใช้เป็นแนวทางระดับประเทศ - Health News, H1N1 2009

at 6:12 PM

# กระทรวงสาธารณสุข เผยความรุนแรงของการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขณะนี้ยังอยู่ในระดับ 5 ไทยยังคงมาตรการตรวจคัดกรองผู้เดินทางจากต่างประเทศ เพื่อสกัดกั้นเชื้อจากนอกประเทศ และถึงระยะนี้จะต้องเร่งขยายความเข้มแข็งของการเฝ้าระวัง การป้องกัน และควบคุมโรคภายในประเทศ ซึ่งจะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั่วทั้งประเทศ พร้อมเตรียมเสนอยุทธศาสตร์ต่อคณะกรรมการไข้หวัดใหญ่ระดับชาติ เพื่อผลักดันเป็นแนวทางหลักในการป้องกันโรคของประเทศ

วันนี้ (20 พฤษภาคม 2552) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังประชุมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขณะนี้ความรุนแรงของการระบาดอยู่ในระดับ 5 ปัญหาที่สำคัญคือประชาชนทั่วโลกยังไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้ จึงมีโอกาสติดเชื้อได้เหมือนกันทุกคน รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันมีผู้เดินทางเข้าประเทศอย่างสม่ำเสมอ โดยมีจำนวนมากมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จึงคาดหมายได้ว่า ในแต่ละวันอาจจะมีผู้ติดเชื้อซึ่งยังไม่มีอาการเดินทางเข้ามา และเริ่มมีอาการป่วยในประเทศ ดังนั้นระบบการเฝ้าระวังและป้องกันโรคจะต้องมีความไว และเข้มแข็งเพียงพอที่จะค้นหาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ให้การรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้อง สามารถควบคุมโรคทันเวลา รวมทั้งประชาชนทั่วทั้งประเทศ มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองอย่างทั่วถึง และทุกจังหวัด รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ มีการซักซ้อมแผนเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการระบาดใหญ่

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า เพื่อให้การควบคุมป้องกันโรคของประเทศสอดคล้องในทิศทางเดียวกันอย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานและทุกภาคส่วน รวมทั้งประชาชนทั้งประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจะรวบรวมข้อมูล ประสบการณ์จากการทำงานในระยะที่ผ่านมา เพื่อปรับยุทธศาสตร์ให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และปรับปรุงมาตรการต่างๆ ให้เข้มแข็งเหมาะสมกับสถานการณ์ยิ่งขึ้น เช่น แนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายเมื่อพบผู้ป่วยหรือผู้สงสัยว่าป่วย แนวทางพิจารณาความจำเป็นและวิธีดำเนินการในการปิดสถานที่เพื่อควบคุมการ ระบาด ยุทธศาสตร์และแผนการสื่อสารสาธารณะที่เหมาะสมกับสถานการณ์ การประสานงานระหว่างกระทรวงและภาคส่วน เพื่อลดช่องว่างและเสริมความเข้มแข็งในระบบงานด้านต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดใหญ่ และจะนำประเด็นสำคัญเหล่านี้ เสนอต่อคณะกรรมการไข้หวัดใหญ่ระดับชาติเร็วๆ นี้ เพื่ออำนวยการ ประสานงาน และสนับสนุนให้การป้องกันโรคของประเทศมีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับกรณีทีมฟุตบอลลิเวอร์พูล จากประเทศอังกฤษ ที่จะเดินทางมาแข่งขันกับทีมชาติไทยในเดือนกรกฎาคมนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมการประสานกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เพื่อจัดระบบเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพนักฟุตบอลทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดินทางถึงประเทศไทยจนเดินทางกลับ ตามแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขที่กำลังดำเนินการ อยู่ขณะนี้

******************************** 20 พฤษภาคม 2552

การจัดฟันคืออะไร ทันตแพทย์จัดฟัน ขั้นตอนการจัดฟัน - Orthodontics

at 12:10 AM

การจัดฟันคืออะไร เพื่ออะไร

การ จัดฟัน (Orthodontics) เป็นสาขาหนึ่งในทางทันตกรรม ที่ให้การวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาความผิดปกติของการ เรียงฟันและการสบฟันรวมทั้งปัญหาความผิดปกติของขนาดและความสัมพันธ์ของขา กรรไกรต่อใบหน้าการจัดฟัน เป็น การรักษาเพื่อให้มีการสบฟันที่ดีขึ้น เพื่อการบดเคี้ยวอาหารที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งลดอัตราเสี่ยงในการเกิดฟันผุ หรือ โรค เหงือกอันเนื่องมาจากความลำบากในการทำความสะอาดฟันและเหงือก ในบริเวณที่ฟันเรียงตัวผิดปกติ หลีกเลี่ยงการเกิด การสึกของฟันที่ผิดปกติจาการเรียงฟันหรือสบฟันที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังอาจช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพจากการที่มีฟัน เรียงกันสวยงาม


ทันตแพทย์จัดฟันคือใคร

ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทางด้านทันตกรรมจัดฟัน (Orthodontist) คือทันตแพทย์ที่ได้รับการศึกษาต่อเฉพาะทางจัดฟัน จากมหาวิทยาลัยiหรือสถาบันที่มีหลักสูตรอย่างน้อย 2 ปี เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการวินิจฉัย ป้องกัน และรักษา ความผิดปกติในการสบฟัน การเลือกสถานพยาบาลจึงขอให้ผู้ป่วยพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ประกอบกัน เช่นค่าใช้จ่าย ความสะดวกในการเดินทาง และทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา เป็นต้น โดยทั่วไปสถานพยาบาลของรัฐจะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าคลินิก เอกชนแต่อาจจะไม่สะดวกในการเดินทางและเวลาที่ต้องรอคอยบริการ เป็นต้น


ขั้นตอนการจัดฟัน ...
[More ...]

สธ. สรุปสาเหตุเสียชีวิตของหญิงชาวเยอรมัน ไม่ได้เกิดจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ - Health News, H1N1 2009

Tuesday, May 19, 2009 at 5:10 PM

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวหญิงชาวเยอรมนี วัย 65 ปี ผลตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม่พบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1 จึงไม่ได้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แน่นอน ส่วนเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบจนเสียชีวิต ต้องรอผลทางห้องปฏิบัติการอีกประมาณ 3-7 วัน

วันนี้ (19 พฤษภาคม 2552) เวลา 17.00 น. ที่กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะ ร่วมกันแถลงความคืบหน้า การเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวหญิงชาวเยอรมนี วัย 65 ปี ที่มาเที่ยว อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่า ในเย็นวันนี้ได้รับผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งทำคู่ขนานกับห้องปฏิบัติการคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ซึ่งยืนยันตรงกันว่าไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เมื่อประกอบกับประวัติของผู้ป่วยที่แม้จะเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีรายงานผู้ ป่วย แต่อาการของผู้ป่วยรายนี้ไม่เหมือนกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยมีเพียงอาการเจ็บคอไม่มีไข้หรือไอ จึงสรุปได้ว่าไม่ได้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 อย่างแน่นอน

ด้านนายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า จากการสอบถามประวัติกับแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรก ทราบว่าเริ่มมีอาการป่วยตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2552 แต่ไม่ได้ไปพบแพทย์ จากนั้นในวันที่ 18 พฤษภาคม เวลาประมาณ 10.00 น. เริ่มมีอาการเหนื่อยหอบ แพทย์ให้นอนพักที่โรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยขอกลับไปพักที่โรงแรม ต่อมาเวลาประมาณ 16.00 น. ได้กลับมาพบแพทย์อีกครั้ง เนื่องจากอาการรุนแรงขึ้น มีอาการเขียวปลายมือปลายเท้า แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจและส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ระหว่างทางผู้ป่วยอาการหนักมาก หยุดหายใจ ต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาลมหาชัย จ.สมุทรสาคร และเสียชีวิตในเวลาประมาณ 21.00 น. ซึ่งผู้ป่วยรายนี้มีประวัติมีโรคประจำตัวและได้รับยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ ภูมิคุ้มกันต่ำมาประมาณ 1 ปี จึงคาดว่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายและอาการรุนแรงจนถึง ขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ จากการตรวจชันสูตรศพของสถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่ามีการอักเสบของปอด ซึ่งจะทราบว่าเป็นจากเชื้อชนิดใดนั้น ต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติอย่างละเอียดอีกครั้ง คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน แต่เบื้องต้นยืนยันได้ว่าไม่ได้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1

*************************************** 19 พฤษภาคม 2552

สธ. ปรับมาตรการเข้มให้ทุกจังหวัดติดตาม ผู้ที่เดินทางผ่านประเทศญี่ปุ่น เฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ - Health News, H1N1 2009

Monday, May 18, 2009 at 8:11 PM

กระทรวงสาธารณสุข ให้ทุกจังหวัดติดตามผู้ที่เดินทางผ่านประเทศญี่ปุ่นอย่างเข้มข้น หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ ภายใน 3 วัน แจ้งแพทย์ทันที เร่งให้ความรู้ประชาชนดูแลตัวเองหากเกิดอาการเจ็บป่วย ทั้งที่บ้าน โรงเรียน และที่ทำงาน รับมือโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1

วันนี้(18 พฤษภาคม 2552) นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการ แพทย์และสาธารณสุข ว่า กรณีที่พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ในประเทศญี่ปุ่น โดยไม่มีประวัติเดินทางไปประเทศเสี่ยงจึงเป็นสัญญาณเตือนให้ประเทศไทยต้อง รับมือเฝ้าระวังเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากมีผู้ที่เดินทางผ่านสนามบินของญี่ปุ่น ก่อนเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และการระบาดของโรคนี้มีโอกาสแพร่กระจายไปทั่วโลกเนื่องจากการเดินทางที่ สะดวกและรวดเร็ว กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องเร่งให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในการปฏิบัติตัวหากเกิดอาการเจ็บป่วยทั้งที่บ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค

โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางผ่านสนามบินที่ญี่ปุ่น เมื่อเดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทย จะมีระบบเฝ้าติดตามไม่ว่าจะอยู่ที่จังหวัดไหนก็ตาม หากมีอาการป่วยไข้ ไอ เจ็บคอ ภายหลังเดินทางเข้ามาระยะ 3 วัน ให้รีบไปพบแพทย์หรือแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที

นายแพทย์สุพรรณ กล่าวต่อไปว่า ผู้ป่วยโรคนี้จะเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อไวรัส 1 – 3 วัน มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย ซึ่งหากมีอาการไม่รุนแรงจะหายได้เองภายใน 5 – 7 วันโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรงจะมีอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ เพื่อเป็นการป้องกันประชาชนควรหลีกเลี่ยงคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสวมหน้ากากอนามัย ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาการ ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง ล้างมือบ่อยๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ

ทั้งนี้ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 จะประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมโรคติดต่อ เพื่อรับฟังความก้าวหน้า นโยบายเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 และโรคชิคุนกุนยา ที่โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต และในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 จะมีการสื่อสารระบบทีวีออนไลน์ ที่กรมควบคุมโรคไปยังสำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป

องค์การอนามัยโลก รายงานเมื่อเช้าวันนี้ (18 พฤษภาคม 2552) ตามเวลาในประเทศไทยว่า มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 39 ประเทศ รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น 8.480 ราย เสียชีวิต 72 ราย (เม็กซิโก 66 ราย สหรัฐอเมริกา 4 ราย แคนาดา 1 ราย และคอสตาริกา 1 ราย)ประเทศที่รายงานผู้ป่วยรายแรกในวันนี้ ได้แก่ มาเลเซีย อินเดีย และตุรกี ส่วนประเทศไทย คงมีผู้ป่วยยืนยัน 2 รายเท่าเดิม และวันนี้มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวัง 10 ราย

******************* 18 พฤษภาคม 2552

วิทยา นำทีมหารือผอ.องค์การอนามัยโลก ร่วมมือพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ - Health News, H1N1 2009

Sunday, May 17, 2009 at 6:11 PM

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำทีมผู้บริหาร นักวิชาการ เข้าร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 62 ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ วันที่ 18-22 พฤษภาคม 2552 โดยจะชูมาตรการรับมือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ของไทยพร้อมสมาชิกอาเซียนบวก 3 และเตรียมหารือผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกขยายความร่วมมือทางวิชาการ และการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ รวมทั้งหารือมาตรการป้องกันเอดส์ในกลุ่มเยาวชน วัยรุ่น กับผู้อำนวยการโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติด้วย

นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2552 จะนำคณะผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย เข้าร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 62 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งในปีนี้องค์การอนามัยโลกได้ลดจำนวนวันการจัดประชุมจาก 10 วัน เหลือ 1 สัปดาห์ เนื่องจากมีการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ในหลายประเทศ

นายวิทยา กล่าวว่า ในพิธีเปิดประชุมใหญ่วันแรก ซึ่งจะมีผู้แทนรัฐบาลประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก 193 ประเทศ ร่วมประชุมประมาณ 2,000 คน จะให้รัฐมนตรีสาธารณสุขแต่ละประเทศกล่าวถ้อยแถลงในประเด็นสุขภาพกับผลกระทบ จากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ( Impact of the Economic and Financial Crisis on Global Health) ซึ่งไทยจะนำเสนอเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและผลการประชุมรัฐมนตรี สาธารณสุขอาเซียน บวก 3 เรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช เอ็น 1 ที่รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2552 และมีแถลงการณ์แสดงเจตนารมย์ร่วมกันให้ทุกประเทศเร่งดำเนินการตามแผนการ เตรียมความพร้อมระดับชาติอย่างทันที รวมทั้งให้เพิ่มการสำรองคลังยาต้านไวรัสและยาจำเป็นอื่นๆ อุปกรณ์ด้านการแพทย์ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อการระบาดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในที่ประชุมครั้งนี้ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีกำหนดการหารือกับแพทย์หญิงมาร์กาเร็ต ชาน ( Dr. Margaret Chan) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกเพื่อขอบคุณที่ได้จัดส่งบันทึกคำกล่าวทาง วิดีโอไปให้ในช่วงประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน บวก 3 ซึ่งเป็นที่ประทับใจของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน และหารือความร่วมมือทางวิชาการ โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาวัคซีนและสนับสนุนผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ฯ และหารือกับผู้อำนวยการยูเอ็นเอดส์ ในเรื่องความก้าวหน้าของการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มเยาวชนและ วัยรุ่นด้วย

ทางด้านนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลกปีนี้ มีประเด็นใหญ่ที่หารือกัน 5 เรื่อง ได้แก่ 1. การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 การแบ่งปันเชื้อไวรัสและการเข้าถึงวัคซีน 2. การปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ 3. การสาธารณสุขมูลฐานเพิ่มความเข้มแข็งระบบสุขภาพรายบุคคลและระดับครัวเรือน 4.ปัจจัยสังคมที่มีผลต่อสุขภาพ และ5.ความก้าวหน้าของการพัฒนาสุขภาพให้บรรลุเป้าหมายสหัสวรรษขององค์การสห ประชาชาติในพ.ศ.2558 นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆที่เป็นปัญหาระดับโลก เช่นการระบาดของยาปลอม ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น มีอันตรายต่อผู้ใช้จนเสียชีวิตจำนวนมาก การป้องกันเชื้อวัณโรคดื้อยาที่กำลังประสบปัญหารุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งปัญหาหลักคือจำนวนผู้ป่วยที่รายงาน มีน้อยกว่าที่ประมาณการมาก และเข้าถึงการรักษาต่ำ

ตาแดง การระบาดของโรค การป้องกัน การรักษา - Conjunctivitis

at 1:06 AM

โรคตาแดง
รศ.พญ.ไธวดี ดุลยจินดา
ภาควิชาจักษุวิทยา

“ อย่า ! อย่าไปมองคนเป็นโรคตาแดง แลบลิ้นใส่เร็ว ” ความเชื่อแบบโบราณในการป้องกันโรคตาแดง หลายท่านอาจเคยเป็นและอาจเห็นคนเป็นโรคตาแดง ยิ่งช่วงนี้ฝนตกบ่อย เมื่อเป็นแล้วอันตรายมากหรือไม่ และสาเหตุเกิดจากอะไรต้องติดตาม
โรคตาแดงช่วงหน้าฝน เกิดจาก “ เชื้อไวรัส adenovirus” ที่นอกจากจะทำให้เกิดโรคตาแดงแล้ว ยังก่อให้เกิดโรคของทางเดินหายใจ กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้

การระบาดของโรค
พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย มักเกิดระบาดในกลุ่มชุมชน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ที่ทำงาน สถานเลี้ยงเด็ก การติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งเกิดได้ง่ายมากและเมื่อเกิดขึ้นแล้วมักจะระบาดลุกลามอย่างรวดเร็ว ติดต่อโดย
• การสัมผัสน้ำตาของผู้ที่เป็นโรคตาแดง แล้วนำมือที่เปื้อนนั้นมาสัมผัสตาตนเอง
• ได้รับเชื้อที่กระจายอยู่ในอากาศ หรือจากสระว่ายน้ำ
โดยปกติเชื้อจะใช้เวลาฟักตัว 1-2 วันก่อนแสดงอาการ ในผู้ที่เป็นโรคตาแดงจะสามารถตรวจพบเชื้อก่อโรคบริเวณตาและในลำคอได้ตั้งแต่วันแสดงอาการ จนถึง 14 วันหลังจากเริ่มมีอาการ
ตื๊ด … ตื๊ด … สัญญาณอันตราย ! ...
[More ...]

สธ.ชี้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ แพร่ระบาดได้เหมือนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ไทยพร้อมรับมือทั้งการควบคุมโรคและการรักษา - Health News, H1N1 2009

Saturday, May 16, 2009 at 5:42 PM

กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลองค์การอนามัยโลกชี้แนวโน้มไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ยังคงกระจายไปในประเทศต่างๆ ทุกภูมิภาคของโลก ความรุนแรงของโรคมีแนวโน้มไม่สูงเหมือนในช่วงแรกของการระบาด แต่ทุกประเทศยังไม่ควรประมาท ต้องเร่งเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างเต็มที่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนไม่ควรกังวลจนเกินไป แต่ต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง รู้จักวิธีป้องกันตนเอง ส่วนผู้ที่มีอาการป่วย รู้วิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น และไปพบแพทย์เพื่อรักษา

นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และ สาธารณสุข ที่กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเช้าวันนี้ (16 พฤษภาคม 2552) ว่า จากการติดตามการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่เริ่มมีการระบาด และศึกษาองค์ความรู้ทางวิชาการของเชื้อนี้อย่างต่อเนื่อง พบว่าโรคนี้มีลักษณะการแพร่ระบาด ใกล้เคียงกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ที่พบในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งไทย และความรุนแรงของโรคมีแนวโน้มไม่สูงเหมือนช่วงแรกของการระบาด จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยืนยันว่าติดเชื้อนี้ มีอัตราป่วยตายโดยเฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 1 ส่วนอัตราป่วยตายในประเทศอื่นๆ ยกเว้นเม็กซิโก จะต่ำกว่านี้ อย่างไรก็ตาม เชื้อนี้เป็นเชื้อใหม่ ประชาชนทุกประเทศในโลกไม่มีภูมิต้านทาน จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้น การให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ มีวิธีแพร่ระบาดเหมือนไข้หวัดใหญ่ทั่วไปที่ระบาดตามฤดูกาล หากประชาชนปฏิบัติตัวเหมือนกับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไปอย่างเคร่ง ครัด ก็จะสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้เช่นเดียวกัน โดยการดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง รักษาร่างกายให้อบอุ่น กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลทำความสะอาดมือ เมื่อมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก ควรป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น ด้วยการคาดหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม และไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และมีการปรับมาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องเหมาะสม โดยเฉพาะประเด็นของยาต้านไวรัส จะพยายามเพิ่มจำนวนยาต้านไวรัสในคลังสำรองยา นอกจากนี้ คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงฯ กำลังปรับแนวทางการใช้ยาต้านไวรัสของประเทศให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ไม่ให้มีการใช้ยาเกินความจำเป็น เพื่อป้องกันการแพ้ยา และที่สำคัญคือป้องกันปัญหาการดื้อยา

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโลกตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2552 ถึงเช้าวันที่ 16 พฤษภาคม 2552 (ตามเวลาประเทศไทย) องค์การอนามัยโลกได้รับรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 จาก 34 ประเทศ รวม 7,520 ราย เสียชีวิต 65 ราย แยกเป็น เม็กซิโก 60 ราย สหรัฐอเมริกา 3 ราย แคนาดา 1 ราย และคอสตาริก้า 1 ราย ประเทศใหม่ที่มีรายงานผู้ป่วยวันนี้ คือ เบลเยี่ยม 1 ราย และประเทศที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มในรอบ 7 วัน ได้แก่ ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก โปแลนด์ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และเกาหลีใต้

สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2552 ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2552 ยังคงมีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 จำนวน 2 ราย ซึ่งเป็นการรับเชื้อมาจากต่างประเทศ ไม่มีผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ และมีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคและรอผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ 12 ราย

******************************** 16 พฤษภาคม 2552

สธ.เผยผลตรวจยืนยันเด็กที่พิษณุโลก ไม่ใช่เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ - Health News, H1N1 2009

Friday, May 15, 2009 at 4:15 PM

กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด ไทยมีผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อจากต่างประเทศ 2 รายเท่าเดิม แต่แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังจะมากขึ้น เป็นผลมาจากความรู้ของประชาชนและเจ้าหน้าที่ทั่วประเทศ ที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ประชาชนไม่ต้องตกใจ เผยผลตรวจยืนยันเด็กที่พิษณุโลก ที่มีไข้หลังกลับจากเม็กซิโก พบติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั่วไป และวันนี้ได้เปิดวอร์รูมควบคุมโรคชิคุนกุนยาเพิ่มอีก 1 โรค

นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะ ฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข เมื่อเช้าวันนี้ (15 พฤษภาคม 2552) ที่กระทรวงสาธารณสุข ว่า จากการประเมินสถานการณ์แนวโน้มการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1 ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกรายงานว่าเช้าวันนี้ (ตามเวลาประเทศไทย) มีผู้ป่วยใน 33 ประเทศเท่าเดิม จำนวน 6,497 ราย เสียชีวิต 65 ราย ไม่มีประเทศใหม่ที่พบผู้ป่วยยืนยัน มี 9 ประทศที่จำนวนผู้ป่วยไม่เพิ่มขึ้นในรอบ 7 วัน ได้แก่ อิสราเอล ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก เกาหลีใต้ ไอร์แลนด์ โปรตุเกสและโปแลนด์ ส่วนไทย ยังคงมีผู้ป่วยยืนยันเท่าเดิม 2 ราย โดยติดเชื้อจากต่างประเทศและรักษาหายขาดแล้ว จากการเฝ้าระวังทั่วประเทศต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ยังไม่พบรายใหม่เพิ่ม แต่มีผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคและดำเนินการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งล้วนเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ จำนวน 15 ราย

สำหรับรายที่จังหวัดพิษณุโลกตามที่เป็นข่าว ซึ่งเป็นเด็กที่เดินทางกลับจากประเทศเม็กซิโก และมีอาการป่วยหลังเดินทางกลับถึงบ้าน ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วได้ทำการติดตามอาการและรับตัวเข้ารักษาในโรง พยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ขณะนี้อาการหายเป็นปกติแล้ว ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ไม่ใช้เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เช่นเดียวกับชายวัย 68 ปีที่อยู่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา หลังเดินทางกลับสหรัฐเอมริกา ผลการตรวจยืนยันเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั่วไปเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังจากนี้ไปจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่หมายถึงมีการติดเชื้อหรือมีการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มขึ้น แต่เป็นผลมาจากการที่ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและเดินเข้ามาขอรับการตรวจ รวมถึงระบบการค้นหาผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชนไม่ต้องตกใจ การค้นหาได้เร็วจะเป็นผลดีต่อการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เพราะโรคดังกล่าวติดต่อกันง่ายทางการไอจาม แต่รักษาให้หายขาดได้ ตลอดจนมีภูมิต้านทานโรคดังกล่าวโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความรู้การป้องกัน โรค และการดูแลผู้ป่วยทั้งไข้หวัดใหญ่ทั่วไปตามฤดูกาล และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ตามมาตรฐาน ซึ่งจะมีผลให้อัตราป่วยและอัตราตายลดลง และขอความร่วมมือประชาชนหากเป็นไข้ มีน้ำมูก ไอ จาม ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดสายพันธุ์ใด ขอให้คาดหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่สู่คนอื่น และปฏิบัติให้เป็นนิสัย ส่วนประชาชนทั่วไปขอให้ยึดหลักปฏิบัติตัวคือ ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง กินอาหารขณะร้อนๆ ใช้ช้อนกลางตักอาหาร และล้างมือบ่อยๆ เพื่อกำจัดเชื้อที่ติดมากับมือ ซึ่งได้ผลถึงร้อยละ 80

ทางด้านนายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์การรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งด้านวิชาการระบุว่า จะมีผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังและรับไว้ดูแลรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น ถือเป็นเหตุการณ์ปกติในระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคที่

เคร่งครัด ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้สำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ไว้รักษากว่า 4 ล้านเม็ด โดยได้กระจายให้สำนักงานควบคุมป้องกันโรคประจำเขต 12 เขต แห่งละ 4,000 เม็ด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งละ 2,000 เม็ด โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป แห่งละ 1,000 เม็ด และโรงพยาบาลชุมชน แห่งละ 100 เม็ด และใช้ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดกรอบแนวทางไว้ เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา และทางด้านวิชาการยังได้เตรียมสำรองยาต้านไวรัสตัวใหม่ คือ ยาซามามิเวียร์ (Zamamivir) ชนิดพ่นทางจมูก อีกจำนวน 30,000 ขวด ซึ่งต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ใช้งบประมาณ 15 ล้านบาท

นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย กล่าวต่อว่า ในวันนี้กรมควบคุมโรคได้ให้ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์ และสาธารณสุข กรมควบคุมโรค เพิ่มการเฝ้าระวังโรคชิคุนกุนยา ซึ่งกำลังแพร่ระบาดครั้งใหญ่ใน 15 จังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคใต้ เพิ่มอีก 1 โรค พร้อมทั้งกำชับให้ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคในเขตภาคใต้ คือที่สงขลาและนครศรีธรรมราช รายงานสถานการณ์และร่วมประชุมเพื่อวางแผนแก้ไขอย่างทันท่วงที โดยให้ส่งหน่วยสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ร่วมกับอสม.ในหมู่บ้าน ไม่ต้องให้มีผู้ป่วยก่อน


********************************15 พฤษภาคม 2552
Thai Health Article (Thailand) | RSS Subscribe | Go to top