"นพ.ประเสริฐ"เสนอสาธารณสุข ตั้งคณะกรรมกากรวิจัยหวัด2009 - ไข้หวัดใหญ่ 2009

Wednesday, August 5, 2009 at 11:59 PM

"นพ.ประเสริฐ"เสนอสาธารณสุข ตั้งคณะกรรมกากรวิจัยหวัด2009 ตั้งแต่ตัวเชื้อ การรักษา ปัจจัยเสี่ยง รวมถึงการสื่อสาร เพื่อรับมือป้องกันในอนาคต ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการการแพทย์และสาธาร...
"นพ.ประเสริฐ"เสนอสาธารณสุข ตั้งคณะกรรมกากรวิจัยหวัด2009 ตั้งแต่ตัวเชื้อ การรักษา ปัจจัยเสี่ยง รวมถึงการสื่อสาร เพื่อรับมือป้องกันในอนาคต

ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการการแพทย์และสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบเสนอให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับคณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้ ตั้งคณะกรรมการขึ้นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นมา และไม่เคยมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้มาก่อน ซึ่งผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะรวบรวมเป็นความรู้ทางวิชาการเพื่อใช้ประโยชน์ในอนาคต สำหรับประเด็นในการศึกษาวิจัยจะวิจัยในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตัวเชื้อ ภาวะโรค การรักษา

นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า การวิจัยเกี่ยวกับตัวเชื้อไวรัสชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 นั้น จะศึกษาตั้งแต่ลักษณะพันธุกรรมเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของเชื้อนี้ ตลอดจนยังเป็นการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อที่นำไปสู่การกลายพันธุ์ที่อาจนำมาถึงความรุนแรงในการก่อโรคได้ การศึกษากลไกการสร้างภูมิกันและการตอบสนองต่อการติดเชื้อไข้หวัด 2009 ที่ระบาดไปทั่วโลก การศึกษาความรุนแรงของโรคในผู้ป่วย พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นจากตัวเชื้อที่มีทั้งอาการรุนแรงและไม่รุนแรง ทั้งนี้การวิจัยนี้จะนำไปสู่การสร้างโมเดล เพื่อพยากรณ์สถานการณ์การระบาดของเชื้อและการรับมือป้องกันในอนาคต

ส่วนการวิจัยในด้านการป้องกัน จะมีการทบทวนและประเมินมาตรการในการป้องกันโรคที่ได้มีการนำมาใช้ในการป้องกันการแพร่ระบาดในครั้งนี้ เช่น การใช่เทอร์โมสแกนในการวัดอุณหภูมิร่างกาย มาตรการการปิดโรงเรียน เป็นต้น การศึกษาแนวทางการนำยาต้านไวรัสมาใช้ในการป้องกันการติดเชื้อหวัด 2009 และความคุ้มค่าในการนำมาใช้ นอกจากนี้ยังศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบป้องกันโรคโดยประชาชนเน้นการมีส่วนร่วม

นอกจากนี้การวิจัยนี้ยังศึกษาด้านการรักษาโรค มาตรการรักษาที่นำมาใช้ เช่น การใช้ชุดทดสอบเพื่อตรวจหาเชื้อซึ่งจะดูในเรื่องแม่นยำในการตรวจหาเชื้อ ทั้งนี้นำไปสู่การวิจัยและพัฒนาชุดทดสอบเพื่อใช้ในการเฝ้าระวังโรค และตรวจวินิจฉัยโรคที่รวดเร็ว การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลการลุกลามของตัวเชื้อที่ส่งผลให้เกิดภาวะโรคที่รุนแรง การศึกษาทางคลินิกและการพัฒนาของตัวโรคในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ทั้งกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตและมีอาการที่พบได้น้อย

ที่ประชุมยังเห็นควรให้มีการศึกษาวิจัยด้านการสื่อสารความเสี่ยงด้วย โดยเฉพาะการศึกษาผลกระทบของการให้ข่าวที่คลาดเคลื่อนของบุคคลต่างๆ อาทิ นักการเมือง ผู้บริหาร นักวิชาการ ต่อการปฏิบัติในการป้องกันโรค

Related Posts:

Thai Health Article (Thailand) | RSS Subscribe | Go to top